ลูกกลิ้งยางโพลียูรีเทน (Polyurethane)

ลูกกลิ้งยางโพลียูรีเทน (Polyurethane) ประกอบด้วยแกนโลหะ หรือวัสดุอื่นๆ ที่ประกอบด้วยกระบอก และเพลา หรือกระบอกอย่างเดียว ซึ่งห่อหุ้มด้วยวัสดุที่มีความยืดหยุ่นอย่างเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น โพลียูรีเทน (Polyurethane)

การใช้วัสดุมาหล่อลูกกลิ้งนั้น มีความหนาบางแตกต่างกันได้ตั้งแต่บางมากๆ จนถึงประมาณ 1 นิ้ว หรือมากกว่า ส่วนตัวลูกกลิ้งจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแตกต่างกันตั้งแต่ขนาดเล็กๆ โตไม่ถึง 20 ม.ม. จนถึงขนาดเกินกว่า 1,200 ม.ม. และมีความยาวตั้งแต่สั้นๆ ขนาดยาว 20 ม.ม. จนถึงขนาดลูกกลิ้งยาวกว่า 9,000 ม.ม. ก็มีวัสดุที่นำมาห่อหุ้มลูกกลิ้ง หรือหล่อลูกกลิ้ง

วัสดุ ที่นำมาห่อหุ้มลูกกลิ้ง หรือเรียกเป็นคำแทนโดยรวมว่า “ยาง” นั้น.. มีทั้งผลิตได้จากธรรมชาติ คือยางธรรมชาติ และที่ได้มาจากการสังเคราะห์ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบชนิด ได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการใช้งานในอุตสาหกรรมแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม

ประโยชน์ของการใช้วัสดุที่นำมาห่อหุ้มลูกกลิ้ง

  1. เพื่อให้มีประสิทธิภาพต้านทานแรงเสียดทาน แรงเสียดสี ได้ดีขึ้น
  2. มีความยืดหยุ่นสามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรง หรือเข้าแทนที่ได้ โดยสามารถกลับสู่สภาพเดิมของมันได้อย่างรวดเร็ว
  3. สามารถป้องกันแกนอันเกิดจากปฏิกิริยาของสารเคมี และสารละลายต่างๆ
  4. สามารถทำผิวหน้ายางให้มีแบบเฉพาะ หรือเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ได้ เช่น
    ≠ ผิวหน้าเป็นฉนวน หรือป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วได้
    ≠ ผิวหน้าเป็นสื่อไฟฟ้า หรือกึ่งตัวนำไฟฟ้า (กันไฟฟ้าสถิตย์)
    ≠ ผิวหน้ามัน ลื่น ไม่ติดฟิล์ม หรือพลาสติกบางๆ
    ≠ ตัดบ่า / แกะเซาะร่อง มีลายเป็นพิเศษได้
  1. สามารถปรับแต่งตามแนวต่างๆ ของเครื่องจักรได้ (MACHINE ALIGNMENT)
  2. ไม่ทำให้เกิดรอยขูดขีดบนผิวชิ้นงานที่ใช้ลูกกลิ้งเดินงาน เช่น ผิวของแผ่นเหล็ก (TIN PLATE) เป็นต้น

ลูกกลิ้งยาง สำหรับอุตสาหกรรมทั่วไป

© ลูกกลิ้งยาง โรงพิมพ์แผ่นโลหะ โรงพิมพ์พลาสติก โรงพิมพ์กาเวียร์เคลือบลามีเนต โรงพิมพ์แผ่นฟีล์ม แผ่นฟอยล์ลูกกลิ้งยางออฟเซต
© อาบเงายูวี โรงพิมพ์แผ่นกระดาษ
© ลูกกลิ้งยางอุตสาหกรรมสิ่งทอ
© ลูกล้อยางรีดแผ่น
© ลูกกลิ้งยางสำหรับการลำเลียง (เซาะร่อง หรือแกะลายเพื่อการควบคุมทิศทาง)
© ลูกกลิ้งโพลียูรีเทน (PU)

อ้างอิงที่มา

https://km.raot.co.th/km-knowledge/detail/208

Verified by MonsterInsights